กระดานสนทนา

สงครามราคาสายการบิน ศึกที่เลี่ยงไม่ได้ ยุคเที่ยวไทยโคม่า
http://www.posttoday.com/business.php?id=47808 วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 เป็นความยากลำบากของธุรกิจท่องเที่ยวไทยอย่างมากที่ต้องทำธุรกิจในช่วงเศรษฐกิจขาลง ทั้งนี้เพราะการท่องเที่ยว เป็นตัวเลือกแรกๆ ที่คนส่วนใหญ่จะตัดทิ้งเป็นอันดับต้นๆ เมื่อต้องตัดค่าใช้จ่าย ดังนั้น เมื่อเศรษฐกิจโงนเงนเหมือนอย่างที่เป็นอยู่ จำนวนนักท่องเที่ยวทั้งต่างชาติและนักท่องเที่ยวชาวไทยต่างลดลงเป็นเงาตามตัว เห็นได้จากจำนวนนักท่องเที่ยวตามจังหวัดท่องเที่ยวทั่วประเทศลดลงอย่างเห็นได้ชัด สำหรับในประเทศไทยเองไม่ได้เจอแต่กับปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องเผชิญกับปัญหาความไม่สงบทางการเมืองที่ทำลายบรรยากาศความเป็นเมืองท่องเที่ยวระดับโลกลงอย่างย่อยยับ ต้องอาศัยเวลาการสร้างความน่าเชื่อถือกลับมา และล่าสุดยังต้องเจอกับปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่ตอกย้ำให้นักท่องเที่ยวทั่วโลกชะลอการเดินทางในช่วงนี้ออกไปอย่างไม่มีกำหนด ผลกระทบที่เกิดขึ้นทำให้ทุกธุรกิจท่องเที่ยวต่างงัดสารพัดกลยุทธ์เพื่อจูงใจให้นักท่องเที่ยวกลับมาเดินทางท่องเที่ยวกันอีกครั้งหนึ่ง และสูตรสำเร็จที่ผู้ประกอบการนิยมนำมาใช้เป็นอันดับต้นๆ คือ การลดราคาสินค้าทางการท่องเที่ยว!! ทั้งนี้ เพราะสามารถกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวเกิดอารมณ์ในการจับจ่ายได้อย่างรวดเร็ว และตรงกลุ่มเป้าหมายที่สุด กลยุทธ์การตลาดดังกล่าวได้ลุกลามเข้าสู่ธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำ (โลว์คอสต์แอร์ไลน์) ภายในประเทศ ที่เหินห่างการใช้กลยุทธ์ราคามานานแล้ว เนื่องจากกลยุทธ์ราคานั้นเปรียบเสมือนดาบสองคมที่ทำให้สายการบินต้องเจ็บตัวเช่นกัน เพราะผู้โดยสารจะรอ “ช็อป” ในช่วงที่มีการดัมพ์ราคาเท่านั้น ซึ่งนั่นหมายถึงโครงสร้างราคาทั้งระบบของสายการบินโลว์คอสต์ที่ต้องสั่นคลอน อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันที่จำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลง อย่างต่อเนื่อง ทำให้สายการบินทั้งหลายต้องยอม “กลืนเลือด” ตัวเอง เพื่อดึงลูกค้ามาใช้บริการให้มากที่สุด เพราะในช่วงนี้สงครามราคาไม่ได้ถูกใช้เฉพาะสายการบินต้นทุนต่ำเท่านั้น แต่สายการบินแห่งชาติอย่างการบินไทย และสายการบินบางกอก แอร์เวย์ส ที่วางตัวเองว่าเป็นบูติกแอร์ไลน์ ก็ยังต้องกระโดดลงมาเล่นในสงครามราคานี้ ด้วยการคลอดแคมเปญราคาออกมากระตุ้นการขายอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าสายการบินต่างๆ จะ “เจ็บตัว” จากสงครามราคา เพราะต้นทุนการบริหารที่ค่อนข้างสูง และมีความเสี่ยงอย่างมาก แต่ขณะนี้ทุกฝ่ายมองเรื่องเดียวกันคือ ความจำเป็นที่ต้องดึงลูกค้ามาไว้ในมือให้ได้มากที่สุด อุดม ตันติประสงค์ชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วันทูโก แอร์ไลน์ บอกว่า ภาพรวมธุรกิจสายการบินได้รับ ผลกระทบอย่างหนัก โดยถือว่าเป็นช่วงโลว์ซีซันของธุรกิจนี้ก็ว่าได้ เพราะนักท่องเที่ยวคนไทยและต่างชาติในอัตรา 2-3 ล้านที่นั่ง เทียบจากปีที่ผ่านมา อัตราที่นั่งในประเทศรวมอยู่ในราวๆ 10-11 ล้านที่นั่ง หรือลดลงจากช่วงโลว์ซีซันที่ผ่านมา 10% ทำให้สูญเสียรายได้ประมาณ 3,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ภาพการแข่งขันในแง่ของการตัดราคากันครั้งนี้ อาจต้องใช้เวลาเป็นเครื่องวัดพลังภายในว่า สายการบินใดจะมีสายป่านที่ยาวกว่ากัน ซึ่งผลดีจะเกิดกับผู้บริโภค แต่ในทางตรงข้ามหากผู้ประกอบการบริหารงานไม่ดี ในระยะยาวผู้โดยสารอาจเลือกใช้บริการสายการบินที่ให้บริการดีที่สุด และเมื่อถึงเวลานั้นจะมีสายการบินที่ให้บริการเหลือเพียงไม่กี่สายเท่านั้น อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นขณะนี้สะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นของผู้ประกอบการแต่ละรายเป็นอย่างดี ที่ต้องการกระตุ้นอารมณ์ให้อยากเดินทางท่องเที่ยวโดยใช้ “ราคา” เป็นตัวล่อ เพื่อสร้างกระแสการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นในเวลาอันสั้น แต่ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็แล้วแต่ ปีนี้สงครามราคาปะทุขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และไม่เกิดขึ้นแค่ระยะเวลาอันสั้น อย่างแน่นอน!!
ไม่พบข้อมูล.!